วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

 
 
ประวัติการออกแบบเสื้อผ้า
 
นักออกแบบสิ่งถักทอสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก แบบที่ทำงานเต็มเวลากับบริษัทดัง หรือจะเป็นทำเป็นงานเสริมเพื่อแบรนด์ของตัวเองแล้วส่งให้ร้านแต่ละร้านต่อไป ฟรีแลนด์ทำงานให้ตัวเองแล้วส่งให้โรงงานทอต่อ โรงงานทอผ้ามีหน้าที่ลงป้ายบอกขนาดของแต่ละตัว บวกกับพิมการันตีคุณภาพ นักออกแบบบางคนออกแบบป้ายด้วยตัวเองเพื่อให้เข้ากับกลุ่มตลาดที่เขาตีไว้
นักออกแบบบางคนเป้นนักออกแบบประจำตัวของผู้มีชื่อเสียง ในโลกของแฟชั่นชั้นสูง นักออกแบบจะส่งผลงานให้กับโรงงานที่ทำเกี่ยวกับแฟชั่นชั้นสูงอย่างเดียว โดยเฉพาะแบรนด์ดังนั้นจะมีทีมออกแบบอยู่แล้วแต่การควบคุมงานอยู่ในกำมือของเจ้าของแบรนด์อยู่ดีคอลเลคชั่นเป็นการทำงานที่นักออกแบบเอาผลงานออกแบบหลายๆ ชิ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เกิดเทรนด์ใหญ่ในตลาดทั้งแฟชั่นชั้นสูงและตลาดใหญ่ นักออกแบบเวลาดีไซน์ต้องเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นมุมมองชองคนซื้อ ดีไซน์เก่าๆในตลาด รูปแบบของคู่แข่ง และเทรนด์ที่มีในท้องตลาดตอนนี้ รวมไปถึงซีซั่นของคอลเลคชั่นนั้นๆดีไซเนอร์สามารถทำงานได้หลายแบบไม่ว่าจะลงบนกระดาษ หรือทาบผ้าบนหุ่นเพื่อให้เกิดทรงของชุด หลังจากที่เสร็จก็จะเอาคนออกแบบลวดลายเข้ามาช่วย แล้วทำลายตามที่นักออกแบบต้องการ การออกแบบลวดลายถือเป็นงานที่เครียดมาก เพราะต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำงาน ความสวยของชุดขึ้นอยู่กับการทำลวดลายให้เข้ากัน ในที่สุดตัวอย่างก็จะถูกเอาไปลองลงบนตัวนางแบบจริงอุตสาหกรรมสิ่งถักทอนั้นได้เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อผลงานของ Charles Frederick Worth ได้ถูกติดป้ายผลงาน เรื่องราวก่อนหน้านี้มีอยู่ว่า นักออกแบบส่วนมากนั้นออกแบบโดยหวังขายกับราชวงศ์โดยที่ไม่รู้ว่านักออกแบบคือใคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มรู้จักการเป็นนักออกแบบมากขึ่น นักออกแบบสามารถบอกได้ว่าชาวบ้านแต่ละคนควรใส่อะไรให้เหมาะกับตัวเอง แทนที่จะใส่ตามมีตามเกิด และเหมือนกันหมด คำว่า couturier จึงถูกผู้ตั้งขึ้นเป็นการเรียกคนออกแบบประเภทนี้ เดี๋ยวนี้หลากหลายบ้านทอผ้าว่าจ้างศิลปินมาให้แต่งแต้มผ้าดิบให้ภาพเหล่านี้ได้มีการออกป่าวประกาศให้ทุกคนได้เห็น ดังนั้นคนจึงสนใจมากกว่ามานั่งถักทอด้วยตนเองเพราะมันถูกกว่า เมื่อลูกค้าชอบก็จะสั่งให้บ้านถักทอทำ และทำใหเกิดกำไรจากการทำงาน ทุกอย่างทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ว่านักออกแบบดีไซน์ให้ลูกค้าดูก่อนที่จะทำจริง
การออกแบบมีวิธีการหลายประเภท
  • Haute couture: ดีไซน์ออกแบบให้สังคมชั้นสูงพึ่งจะแพง และใช้เวลานานเพราะมีความละเอียดอ่อนมาก
  • Ready to wear: ออกแบบชุดเดิมหลายไซน์ แต่ออกมาไม่เยอะในแต่ละขนาด
  • Mass market: ทำออกมาเพื่อคนหลายกลุ่ม หลายรุ่น หลายวัย